ได้เวลาบอกลาสิวฮอร์โมน! ปัญหาใหญ่ที่ไม่ได้เจอแค่เฉพาะในวัยรุ่น แต่ไม่ว่าจะเป็นรุ่นเล็กหรือรุ่นใหญ่ต่างก็เคยเผชิญกับสภาพความผันผวนของฮอร์โมนที่มีผลต่อสภาพผิวโดยตรง ในรีวิวนี้ ผมจะพาคุณไปรู้จักกับต้นตอของสิวฮอร์โมนซึ่งจะช่วยให้เข้าใจสาเหตุของสิวอย่างแท้จริง และวิธีการดูแลรักษาที่แตกต่างไปตามกรณี พร้อมแนวทางการปฏิบัติที่ควรทำเพื่อลดผลกระทบที่ได้รับจากสิวฮอร์โมนอีกด้วย
สิวฮอร์โมนคืออะไร?
สิวฮอร์โมน คือ ปัญหาสภาพผิวที่มีสาเหตุโดยตรงมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะทำให้ปริมาณของฮอร์โมนไม่สมดุล อย่างที่คุณเห็นภาพชัดที่สุดคือเมื่อกำลังเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น โดยทั้งในผู้ชายและผู้หญิงจะมีฮอร์โมน Testosterone และ Progesterone อยู่ทั้งคู่ ซึ่งจะกระตุ้นการผลิตไขมันจำนวนมากจนเกิดเป็นส่วนเกิน เพื่อให้รองรับการเติบโตของวัยเจริญพันธุ์ แต่ไขมันเหล่านี้กลับทำให้ใบหน้ายิ่งมันขึ้นกว่าเดิม และความมันเหล่านี้นี่เองได้เร่งใด้เกิดสิวฮอร์โมนมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม จากงานวิจัยกลับพบว่า สิวฮอร์โมนนั้นแม้จริงมีสาเหตุที่หลากหลายซับซ้อนกว่านั้น เช่น จากอาหารการกิน, มลภาวะในชีวิตประจำวัน, ความเครียด, ความตื่นเต้น, พฤติกรรมการนอน, ช่วงมีประจำเดือน, ระหว่างตั้งครรภ์ และอีกมากมาย
ต้นตอของสิวฮอร์โมนนั้นใกล้ตัวกว่าที่คิด
อย่างที่คุณเข้าใจ ว่าสาเหตุของการเกิดสิวฮอร์โมนนั้นมีหลายเวอร์ชั่นมากๆ แต่สาเหตุหลักๆ มักจะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณฮอร์โมน ซึ่งในส่วนนี้ผมจะลงลึกถึงต้นตอของสาเหตุการเกิดสิวฮอร์โมนที่คนส่วนใหญ่มักประสบ
- เริ่มต้นจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เมื่อเข้าสู่วัยรุ่นหรือเมื่อเข้าสู่ช่วงวัยทอง
- Testosterone หรือ Progesterone จะถูกกระตุ้นให้ผลิตในปริมาณที่ต่างกัน
- ในวัยรุ่น ถ้าอัตราส่วนของฮอร์โมนเหล่านี้สูงกว่าฮอร์โมนอื่นๆ เมื่อไหร่ “ซีบัม” จะถูกผลิตมากขึ้น
- เมื่อซีบัมมีมากขึ้น ความมันบนผิวหน้าก็จะเกิดมาขึ้นกว่าปกติ
- บริเวณรูขุมขนจะถูกอุดตันด้วยไขมันและเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีมากในการเกิดสิว
- และในตอนนี้ แบคทีเรียมีการผลิตเพิ่มมากขึ้น และร่างกายมีการตอบสนองด้วยการอักเสบและรอยแดง
- ทั้งหมดนี้จึงเป็นที่มาแบบละเอียดของการเกิดสิวฮอร์โมน
บทบาสำคัญของฮอร์โมน
คุณรู้หรือไม่? ในร่างกายของเราจะใช้ “ฮอร์โมน” ในการสื่อสารเพื่อให้ระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ เป็นปกติ ซึ่งอย่างที่คุณเข้าใจ ในกรณีของการเกิดสิวฮอร์โมนนั้นมีผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเพศ คือ
1. ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (Testosterone)
เป็นฮอร์โมนเพศชายที่หลั่งมาจากอัณฑะ ซึ่งจะถูกหลั่งมากที่สุดในช่วงวัยเจริญพันธุ์ โดยฮอร์โมนนี้จะสร้างลักษณะของความเป็นผู้ชายจนเต็มที่ เช่น กล้ามเนื้อ, ขน, เสียง, หนวดและเครา เป็นต้น หากขาดฮอร์โมนในช่วงเจริญเติบโตจะส่งผลให้เด็กมีการพัฒนาที่ไม่สมบูณร์ และถ้าหากฮอร์โมนนี้หมดเร็วเกินไป มวลกระดูกและกล้ามเนื้อก็จะขาดความสมบูรณ์ในช่วงวัยชรา
2. ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen)
เป็นฮอร์โมนเพศหญิงที่หลั่งมาจากรังไข่ แน่นอนฮอร์โมนนี้จะช่วยให้ผู้หญิงเจริญสมวัยมากยิ่งขึ้น เช่น มีหน้าอก, มีเต้านม, สะโพกพาย, มีประจำเดือน, มีการตกไข่ และมีผิวที่ดูใสขึ้น เป็นต้น ในช่วงสูงวัยหากฮอร์โมนเริ่มลดลงหรือกำลังหมดประจำเดือน คุณอาจรู้สึกได้ถึงกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่แข็งแรง หรือมีความหงุดหงิดตามช่วงวัยทองได้
สิวฮอร์โมนไม่ได้เกิดเฉพาะในวัยรุ่น!
หลายคนมักเข้าใจผิดกันว่าสิวฮอร์โมนนั้นจะเกิดกับเฉพาะในวัยรุ่นเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่! เพราะสิวฮอร์โมนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงอายุ หากฮอร์โมนนั้นบังคงมีการปรับเปลี่ยนและผันผวนอยู่ เพราะเหตุนี้ จึงทำให้วิธีการรักษาของสิวฮอร์โมนในแต่ละช่วงอายุนั้นแตกต่างกันไปอีกด้วย ดังนั้นการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงจึงยังเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ภายหลังจากช่วงวัยรุ่น สภาพการเกิดสิวฮอร์โมนมักมีสาเหตุมาจากทั้งฮอร์โมนในร่างกายและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งอัตราการความรุนแรงของสิวจะต่างกันไปในแต่ละเคส เช่น ในวัยใกล้หมดประจำเดือนของผู้หญิง ยังพบการเกิดสิวฮอร์โมนที่คล้ายกันในช่วงวัยรุ่น
ความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดสิว vs การเกิดประจำเดือน
ไม่ต้องกังวลไป ถ้าคุณเป็นผู้หญิงแล้วเกิดสิวในช่วงก่อนหรือระหว่างประจำเดือน เพราะจากรายงานพบว่ามีผู้หญิงที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่ถึง 85% ที่เผชิญปัญหาผิวในช่วงก่อนมีประจำเดือน
อ่านต่อ: เกี่ยวกับ สิว
โดยสำหรับผู้หญิงหลายคน อาจรู้สึกชินและเข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเกิดสิวกับการเกิดประจำเดือน เพราะกระบวนการดังกล่าวเกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ดังนั้นนี่ถือเป็นคำตอบที่เคลียร์มากๆ สำหรับธรรมาชาติของกระบวนการของร่างกาย
- ช่วงก่อนมีประจำเดือนร่างกายจะมีการขับซีบัมออกมามากขึ้น ซึ่งจะสอดคล้องกับกระบวนการเกิดสิวฮอร์โมนอย่างทีได้กล่าวไป
- ในผู้หญิงจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูงในช่วงแรก
- เมื่อมีประจำเดือนไปได้สักพัก ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนกลับอยู่ในระดับสูงขึ้นแทน
- ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่สูงขึ้นนี้ รูขุมขนจะอุดตันมากกว่าเดิม
- ดังนั้นในสัปดาห์สุดท้ายของการมีประจำเดือน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะลดลง ส่งผลให้รูขุมขนกว้าง แน่นอนเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการเติบโตของแบคทีเรีย
เมดชัวร์ให้แน่ใจเป็นสิวฮอร์โมนจริงหรือไม่?
เรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นบ่อยมากๆ สำหรับการสังเกตลักษณะสิวที่ผิดพลาด จนนำไปสู่ที่การรักษาแบบผิดวิธี! เพราะในบางเคส ผู้ที่มีปัญหาด้านสภาพผิวโดยเฉพาะในวัยรุ่นไม่ทราบว่าสิวที่ตนเองเป็นนั้นเป็นสิวฮอร์โมน จึงทำให้เลือกแนวทางในการรักษาที่ไม่ได้ผล แย่ไปกว่านั้น บางรายเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสิวฮอร์โมนจนเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาหลายบาท เช็คลิสต์ลักษณะของสิวฮอร์โมนด้านล่างนี้ เพื่อเลือกวิธีรักษาแบบตรงจุด
สิวอักเสบ: การเกิดสิวฮอร์โมนจะมาพร้อมลักษณะของสิวอักเสบ ซึ่งเกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในบริเวณรูขุมขน
เป็นตุ่มแดงขนาดใหญ่: ตุ่มแดงขนาดใหญ่นี้จะเป็นเอกลักษณะที่พบได้เฉพาะในสิวฮอร์โมน เพราะการอักเสบที่เกิดขึ้นทำให้ผิวหน้ามีรอยแดงหรือตุ่มแดงขนาดใหญ่
มักเกิดในช่วงมีประจำเดือน: เพราะในช่วงการเกิดประจำเดือนในผู้หญิง เป็นช่วงที่ฮอร์โมนมีการเพิ่มลดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสาเหตุในการเกิดสิวฮอร์โมนอย่างที่ได้อธิบายไป
ผู้ชายมักพบได้ในทุกช่วง: ถ้าเป็นในกลุ่มผู้ชายที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์หรือจริงๆ แทบจะเป็นทุกช่วง อาจพบสิวฮอร์โมนได้ทั้งบริเวณใบหน้า, แผ่นหลัง, หน้าอก, หรือบริเวณจุดอับที่มีต่อมไขมัน
พฤติกรรมที่ควรเลี่ยงเพื่อรักษาสิวฮอร์โมน
จากรายงานระบุว่า ปัจจัยภาพนอกที่เกี่ยวข้องมีผลต่อความรุนแรงของสิวฮอร์โมนอย่างมีนัยสำคัญ นั่นหมายความว่า พฤติกรรมที่ใช้ในชีวิตประจำวันมีโอกาสที่ทำให้ความรุนแรงของสิวฮอร์โมนมากขึ้น และแน่นอนพฤติกรรมที่เฮลตี้ก็อาจลดความรุนแรงของสิวฮอร์โมนได้เช่นกัน
1. อาหารขยะและน้ำตาล
เพราะอาหารขยะมักมีส่วนประกอบของไขมันและน้ำตาลที่สูง ซึ่งสารอาหารเหล่านี้เป็นอาหารชั้นดีของแบคทีเรียที่เป็นต้นตอของการเกิดสิว ดังนั้นคุณควบควบคุมการรับประทานอาหาร
2. ดื่มน้ำในปริมาณไม่เพียงพอ
เพราะน้ำเป็นสิ่งสำคัญต่อกระบวนการต่างๆ ภายในร่างกาย หากคุณดื่มน้ำในปริมาณที่น้อยเกินไป นอกจากใบหน้าที่จะปราศจากความชุ่มชื่นแล้ว การขจัดสิ่งสกปรกอาจเกิดขึ้นได้น้อยอีกด้วย
3. ละเลยการครีมกันแดด
ในระหว่างที่ทำการรักษา คุณอาจใช้ตัวยาที่ต้องทาในบริเวณที่เป็นสิวซึ่งจะทำให้ผิวหน้านั้นบางขึ้น การทาครีมกันแดดจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเลือกเนื้อครีมและประสิทธิภาพที่สอดคล้องกับสภาพผิวและสภาพอากาศ
4. พฤติกรรมการนอนดึก
การนอนดึก นอกจากจะทำให้ระบบภายในร่างกายแปรปรวนแล้ว การซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอต่างๆ ยังไม่ได้รับการดูแลที่เต็มที่อีกด้วย เพราะการนอนดึก สภาพผิวภายในจะแห้ง แต่ผิวภายนอกจะมันและรูขุมขนกว้าง
5. บีบหรือแกะสิว
พฤติกรรมการบีบหรือแกะสิวเป็นความเข้าใจผิดอย่างหนึ่งของการรักษา เพราะคุณไม่อาจรู้ได้ว่าสิวที่บีบนั้นเป็นสิวประเภทไหน อยู่ในระยะที่บีบได้แล้วหรือไม่ ซึ่งอาจนำสิ่งสกปรกเข้าสู่ผิวโดยไม่ตั้งใจ ทางที่ดีที่สุดคือการเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
6. ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นประจำนอกจากจะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและความแข็งแรงให้ร่างกายแล้ว ยังลดการเกิดสิวได้อีกด้วย เพราะขณะที่ออกกำลังกายเหงือจะระบายออกมาทางรูขุมขน ซึ่งจะชะล้างสิ่งที่อุดตันออกมาด้วย
7. สภาวะความเครียด
เมื่อคุณอยู่ในสภาวะความเครียด ร่างกายจะประสบปัญหาการหลั่งฮอร์โมนที่ผิดปกติซึ่งไม่ต่างอะไรกับความผันผวนของฮอร์โมน เพราะอย่างนี้ สิวฮอร์โมนจึงมักเกิดเมื่อคุณอยู่ในช่วงที่เครียด
วิธีการดูแลรักษาสิวฮอร์โมน
มาถึงหัวข้อที่หลายคนตั้งหน้าตั้งตาคอย สำหรับวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนที่ได้ผลจริง! ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม เพราะในบางเคสอาจเป็นช่วงเริ่มต้น หรือในบางเคสอาจรุนแรงมากจึงสามารถได้ด้วยวิธีใกล้ตัว อย่างไรก็ตาม ความซับซ้อนของปัญหาสิวฮอร์โมนอาจอยู่ในระดับที่คุณดูแลเองไม่ได้ จึงแนะนำให้เข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะดีที่สุด
รักษาด้วยการดูแลผิว: ทุกวันนี้มีตัวครีมและผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบมาเพื่อรักษาสิวฮอร์โมนโดยเฉพาะ ซึ่งคุณสามารถอ่านรีวิวแล้วเลือกใช้ตามความเหมาะสม เพื่อรักษารอยแดงและขจัดสิ่งสกปรก
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม: ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการกิน, เวลาการนอน หรือความเครียด โดยทั้งหมดนี้คุณต้องทำความเข้าใจและรู้วิธีควบคุมพฤติกรรมเพื่อลดความรุนแรงของสิวและให้การรักษาสิวฮอร์โมนนั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปรึกษาแพทย์: เพื่อความชัวร์ คุณควรเข้ารับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะช่วยหาต้นตอของสาเหตุการเกิดสิวฮอร์โมน และหาวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
ทานยาปรับฮอร์โมนช่วยได้จริงมั้ย?
สำหรับวิธีการรักษาสิวฮอร์โมนด้วยการทานยาจำเป็นต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์ ซึ่งจริงอยู่ที่การทานยาปรับฮอร์โมนจะช่วยรักษาสิวได้จริง เพราะตัวยาจะเข้าไปช่วยลดความผันผวนและปรับสมดุลของฮอร์โมน แต่ตัวยาในปัจจุบันนั้นมีหลายประเภท ถ้าการเลือกใช้ยาที่ผิดอาจทำให้ความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องขอคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญก่อนทกุครั้ง
สรุป
สิวฮอร์โมนอาจไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด โดยเฉพาะถ้าคุณเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดสิวและวิธีในการรักษาอย่างแท้จริง แม้ว่าจะไม่สามารถป้องการเกิดเกิดสิวได้แบบ 100% แต่การมีพฤติกรรมที่ถูกสุขลักษณะจะช่วยให้ความรุนแรงของสิวนั้นลดลงได้ เพราะทุกวันนี้มีสถาบันและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญต่างคอยให้คำปรึกษา รวมถึงเสนอแนะวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดตามแต่ละเคสให้กับคุณ ดังนั้นสามารถมั่นใจได้เลยว่าทุกปัญหาสิวมีทางแก้เสมอ ขอเพียงคุณเข้าใจและตั้งใจที่จะรักษาสิวฮอร์โมนอย่างจริงจัง