Bitcoin คืออะไร?

bitcoin-what

Bitcoin เป็นรูปแบบเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ที่ใช้ระบบ peer-to-peer ในการซื้อขายและโอนเงินออนไลน์ ไม่มีผู้มีอำนาจในการควบคุมหรือตรวจสอบ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดย Satoshi Nakamoto ในปี 2009 และมีการใช้งานโดยผู้ใช้ในทั่วโลก Bitcoin คืออะไร มีข้อดี และข้อเสีย อย่างไร Bitcoin เป็นรูปแบบเงินดิจิทัล (cryptocurrency) ที่ใช้ระบบ peer-to-peer ในการซื้อขายและโอนเงินออนไลน์ ไม่มีผู้มีอำนาจในการควบคุมหรือตรวจสอบ Bitcoin ถูกสร้างขึ้นโดย Satoshi Nakamoto ในปี 2009 และมีการใช้งานโดยผู้ใช้ในทั่วโลก ข้อดีของ Bitcoin : ข้อเสียของ Bitcoin: ควรให้ความระมัดระวัดในการซื้อ Bitcoin และจัดการความเสี่ยงให้ถูกต้อง โดยคำนึงถึงปริมาณการลงทุนและระยะเวลาที่ต้องการในการเป็นเจ้าของ Bitcoin. ขุดบิทคอยน์ การขุด Bitcoin หรือ Bitcoin mining เป็นการคำนวณความสำคัญของข้อมูลที่ใช้ในการสร้างและตรวจสอบการโอน Bitcoin โดยใช้คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คำนวณเพื่อสร้าง block ใหม่ … Read more

ฉันจะต้องทำอย่างไรเมื่อไขมันในเลือดสูง…?

high-fat-in-blood

ภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศและทุกวัย อีกทั้งยังไม่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักแต่อย่างใด ปัจจุบันนี้เราสามารถพบผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงได้ทั้งในกลุ่มคนผอมและคนที่มีน้ำหนักเกิน โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการมีภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงก็คือโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบและอุดตัน จากการสำรวจเมื่อปี 2019 พบว่าทั่วโลกมีอัตราผู้ป่วยในสภาวะไขมันในเส้นเลือดสูงถึง 39% และมีผู้เสียชีวิตจากสภาวะดังกล่าวถึง 4.4 ล้านคน ทั้งนี้ภาวะไขมันอุดตันในเลือดมีสาสเหตุได้จากหลายปัจจัย ดังนั้นเพื่อสุขภาพที่ดีของคุณและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ วันนี้เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะไขมันในเลือดสูงกันค่ะ ภาวะไขมันในหลอดเลือดสูงคืออะไร? มาทำความเข้าใจกันก่อนถึงภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) คือสภาวะที่ร่างกายของเรานั้นมีไขมันในเลือดมากกว่าปกติ โดยไขมันที่สะสมนี้เป็นได้ทั้งไขมันชนิดคอเรสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ สำหรับผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงนี้จะมีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น โรคไขมันอุดตันเส้นเลือด โรคเส้นเลือดตีบ โรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดัน เป็นต้น ซึ่งความร้ายแรงของโรคต่าง ๆ เหล่านี้ก็ในกลุ่มเสี่ยงคือสามารถเสียชีวิตได้ทันทีเมื่ออาการกำเริบ หรือแม้แต่การเข้าสู่สภาวะอัมพฤกษ์และอัมพาต เนื่องจากไขมันที่อุดตัน ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของร่างกาย ส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวกและไม่สามารถถูกส่งไปเลี้ยงได้อย่างเพียงพอนั่นเองค่ะ สาเหตุของภาวะไขมันในเลือดสูง ปัจจุบันนี้กว่า 39% ของประชากรทั่วโลกมีภาวะไขมันในเลือดสูง ซึ่งสาเหตุและปัจจัยของภาวะนี้มีได้หลากหลายประการ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร แต่ถึงอย่างไรก็ตามปัจจัยทางด้านพันธุกรรมก็ยังมีส่วนเกี่ยวข้องอยู่บ้างสำหรับคนบางกลุ่ม ซึ่งเราได้รวบรวมสาเหตุที่เกี่ยวข้องและมีโอกาสเกิดขึ้นได้ของการมีภาวะไขมันอุดตันในเส้นเลือดไว้ดังต่อไปนี้ วิธีป้องกันและรับมือต่อภาวะไขมันในเลือดสูง  ในส่วนนี้เราจะแบ่งวิธีการแนะนออกเป็น 2 ส่วน คือ วิธีการป้องกันของคนที่อาจมีความเสี่ยงและวิธีการรับมือหากคุณเสี่ยงต่อภาวะดังกล่าวแล้ว  1. วิธีการป้องกันของคนที่อาจมีความเสี่ยงต่อการมีภาวะไขมันในเลือดสูงสำหรับคนกลุ่มนี้เราจะเน้นไปที่พฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสิ่งแรกที่เราควรปรับพฤติกรรมก็คือพฤติกรรมด้านการกิน อาหารที่เลือกรับประทานควรมีไขมันต่ำ (ไม่ว่าจะเป็นไขมันชนิดใดก็ตาม) … Read more

‘คอเรสเตอรอล’ ภัยเงียบที่ไม่ได้เกิดแค่ในกลุ่มคนที่มีน้ำหนักเกิน

what-is-cholesterol

ปริมาณคอเรสเตอรอลที่สูงจนเกินไปอาจทำให้คุณกลายเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ แน่นอนว่าการรับประทานอาหารที่มีปริมาณคอเรสเตอรอลสูงส่งผลเสียต่อร่างกายเราได้เป็นอย่างมาก แต่ทว่าร่างกายของเรายังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้คอเรสเตอรอลในร่างกายอยู่ ดังนั้นในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับคอเรสเตอรอลที่มีอยู่ในร่างกายและที่สะสมอยู่ในอาหารให้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจและปรับรูปแบบการรับประทานอาหารให้เหมาะสมและสมดุลกับการใช้งานในร่างกายของเราค่ะ ทำความเข้าใจคอเรสเตอรอลคืออะไร คอเรสเตอรอลจัดเป็นไขมันชนิดหนึ่งที่อยู่ในรูปของไขและพบในร่างกายของสิ่งมีชีวิต คอเรสเตอรอลเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างเยื่อหุ้มเซลล์ที่พบทั้งในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ ประโยชน์ของคอเรสเตอรอลนั่นจะช่วยทำให้เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีความยืดหยุ่นและอีกหนึ่งหน้าที่สำคัญของคอเรสเตอรอลคือช่วยสังเคราะห์ฮอร์โมนสำคัญให้กับร่างกายของเรา ได้แก่ สเตียรอยด์ฮอร์โมน กลูโคคอร์ติคอยด์ มินเนอราโลคอร์ติคอยด์ และฮอร์โมนเพศ ซึ่งโดยปกติแล้วในร่างกายของเรานั้นจะมีการสังเคราะห์คอเรสเตอรอลขึ้นจากบริเวณตับ แต่เราสามารถรับเอาคอเรสเตอรอลเข้าสู่ร่างกายได้จากการบยริโภคเนื้อสัตว์ ได้แก่ เนื้อไก่ เนื้อหมู เนื้อวัว หรือกลุ่มผลิตภัณฑ์จากไขมันสัตว์นั่นเองค่ะ คลอเรสเตอรอลในร่างกายของเรานั้นมี 2 ชนิด ได้แก่ LDL และ HDL แต่ก่อนที่จะไปอธิบายเราลองไปดูประโยชน์และหน้าที่สำคัญของคอเรสเตอรอลในร่างกายเราก่อนดีกว่าค่ะ บทบาทของคอเรสเตอรอลในร่างกายเรา เชื่อว่าหลายคนคงคิดว่าคอเรสเตอรอลนั้นส่งแต่ผลเสียให้กับร่างกายของเราเพียงเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตามคอเรสเตอรอลยังมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราหลายประการ ดังนี้ เห็นหรือไม่ว่าแม้ว่าสิ่งที่เรามองว่าจะไม่น่ามร้างประโยชน์ให้กับร่างกายของเรา แท้จริงแล้วมีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญกับร่างกายของเราเป็นอย่างมาก ความแตกต่างของคอเรสเตอรอลชนิดที่ดีและชนิดที่ไม่ดี คุณผู้อ่านเคยสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า… หากคอเรสเตอรอลมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างที่ได้อธิบายไปข้างต้นแล้ว แต่ทำไมถึงได้มีการพูดถึงอยู่บ่อยครั้งโดยที่กรมสาธารณสุขออกมาเตือนประชาชนให้ระมัดระวังการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง? ปกติแล้วตับของเรานั้นจะเก็บคอเรสเตอรอลในรูปแบบที่เรียกว่า ลิโพโปรตีน (Lipoproteins) คือการรวมตัวกันของไขมันกับโปรตีน ซึ่งลิโพโปรตีนจะทำงานโดยจับกับโมเลกุลของคอเรสเตอรอลไปทำหน้าที่ต่าง ๆ ผ่านกระแสเลือดภายในเซลล์ที่ต้องการ โดยคอเรสเตอรอลมีอยู่ 2 ประเภทหลักดังนี้ ทั้งนี้ทางการแพทย์โดยปกติแล้วร่างกายของเราควรจะมีระดับของคอเรสเตอรอล LDL ต่ำกว่า 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้ที่ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดอุดตันและโรคเบาหวานควรมีระดับของ … Read more

เมนูอาหารไขมันสูงเลือกกินผิดโรคร้ายถามหา  

high-fat-foods

เมื่อโลกแห่งอินเตอร์เน็ตสามารถเชื่อมให้ทุกคนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันง่ายขึ้นได้ ก็ย่อมสามารถช่วยให้เผยแพร่วัฒนธรรมของแต่ละชนชาติง่ายขึ้นได้ด้วยเช่นกัน วัฒนธรรมทางด้านอาหารถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้หลายคนเริ่มสนใจในวัฒนธรรมอื่นของประเทศนั้น ๆ ได้ “เมื่ออาหารอร่อย ทุกอย่างก็จะน่าสนใจเอง” นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นจริงและเป็นวิสัยทัศน์อันสำคัญของผู้นำชาวเกาหลีใต้ที่ได้เลือกนำเอาอาหารเกาหลีมาเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความน่าสนใจให้กับประเทศ จากซีรีย์เกาหลี ‘แดจังกึม จอมนางแห่งวังหลวง’ จุดเริ่มต้นที่สร้างชื่อเสียงและกลายเป็นจุดสนใจของชาวโลก จนทำให้ทุกวันนี้วัฒนธรรมของเกาหลีใต้ได้ถูกเผยแพร่ไปไกลถึงทั่วโลก เห็นหรือไม่ว่า…อาหารคือหัวใจสำคัญของทุกสิ่ง จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่าทำไมแนวโน้มการเป็นโรคอ้วนจึงเพิ่มสูงขึ้นในทุก ๆ ปี เพราะบางทีคุณอาจจะลืมใส่ใจว่าอาหารที่คุณรับประทานนี้มีปริมาณไขมันสูงหรือไม่? อาหารไขมันสูงคืออะไร อาหารไขมันสูงไม่ได้แย่เสมอไปหรอก เพราะอย่างที่ได้พูดถึงกันไปแล้วว่าไขมันนั้นมีทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีต่อร่างกาย (อ่านบทความไขมันคืออะไร) ดังนั้นหากเราเลือกรับประทานอาหารที่มีไขมันดีสูงแทนที่จะส่งผลเสีย อาจส่งผลดีต่อร่างกายแทนก็ได้  อาหารไขมันสูง คือ อาหารประเภทใด ๆ ที่มีปริมาณไขมันทั้งดีและไม่มีอยู่ในนั้นเป็นจำนวนมาก แบ่งเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ 1) อาหารที่มีไขมันเลวสูง อาหารในกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ และคลอเรสเตอรอลสูง 2) อาหารที่มีไขมันดีสูง คืออาหารที่มีกลุ่มกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวอยู่หรือกลุ่มไขมันที่ช่วยเพิ่มปริมาณคลอเรสเตอรอลชนิดดี (HDL) และช่วยลดปริมาณคลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) นั่นเองค่ะ 5 ประเภทอาหารไขมันเลวสูง อันที่จริงแล้วอาหารที่จัดเป็นกลุ่มที่มีไขมันเลวสูงนั้นมีค่อนข้างมาก อาหารกลุ่มนี้จะมีปริมาณของกรดไขมันอิ่มตัว คลอเรสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) และไขมันทรานส์ค่อนข้างสูง หากกินติดต่อกันเป็นเวลานานอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้รับประทานและอาจนำไปสู่โรคร้ายต่าง ๆ เช่น … Read more

‘ไขมัน’ สารอาหารจำเป็นในร่างกายที่คนส่วนใหญ่กลัว

fat-benefits

เมื่อพูดถึง ‘ไขมัน’ (Fat) แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่จะต้องนึกถึงสิ่งต่าง ๆ  ในแง่ลบก่อนเสมอ ในความคิดและความเข้าใจของคนส่วนใหญ่คือไขมันเป็นสิ่งที่ทำให้เราอ้วนขึ้น มีน้ำหนักส่วนเกิน รูปร่างไม่สวย หรือแม้แต่การเป็นโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เป็นต้น แล้วคุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าเพราะเหตุใดสิ่งมีชีวิตจึงจำเป็นจะต้องบริโภคไขมัน?  ไขมันคืออะไร?  มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไขมันคืออะไร? มีประโยชน์ต่อร่างกายของเราหรือไม่? เชื่อว่าหลายคนคงจะสงสัยมาตลอดว่าไขมันนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างไรบ้าง แต่เรามาเริ่มต้นกันที่คำว่า ‘ลิพิด (Lipid)’ กันก่อนค่ะ ลิพิดเป็นหนึ่งในสารชีวโมเลกุลที่จำเป็นต่อร่างกายของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิตมากที่สุด ลิพิดจัดเป็นสารที่มีโมเลกุลชนาดใหญ่ชนิดไม่มีขั้วจึงทำให้ไม่สามารถละลายในน้ำได้ แต่ยังคงสามารถละลายในสารละลายประเภทไม่มีขั้วอื่นได้ เช่น คลอโรฟอร์ม อีเทอร์ เป็นต้น ไขมัน (Fat) น้ำมัน (Oil) และไข (Wax) ล้วนจัดเป็นสารประกอบประเภทลิพิดด้วยกันทั้งสิ้น ไขมันและน้ำมันเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างกลีเซอรอลและกรดไขมัน ซึ่งสิ่งที่ทำให้ไขมันและน้ำมันแตกต่างกันก็คือสถานะเมื่ออยู่ในอุณหภูมิห้อง โดยที่ไขมันจะกลายเป็นของแข็งในขณะที่น้ำมันจะกลายเป็นของเหลวนั่นเอง  ส่วนไขมันในทางโภชนาการนั้นหมายถึงสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายของสิ่งมีชีวิต โดยที่ไขมัน 1 กรัม สามารถให้พลังงานได้สูงถึง 9 แคลอรี่ ซึ่งสูงที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนที่ให้พลังงานเพียง 4 แคลอรี่ ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันมะพร้าว 1 ช้อนชา มีปริมาณไขมันอยู่ 4.5 … Read more

‘ข้าวกล้อง’ ข้าวเพื่อสุขภาพ – คุณค่ามากกว่าที่คุณคิด

brown-rice-benefits

ข้าวคืออาหารหลักของคนไทยและชาวเอเชียส่วนใหญ่ เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าส่งผลให้การเกษตรในโลกของเราก้าวหน้าตามไปด้วย อย่างเช่น การดัดแปรพันธุกรรมพืชและสัตว์ (GMO) เป็นต้น และแน่นอนว่าข้าวหอมมะลิของบ้านเรานั้นโด่งดังไปไกลทั่วโลก จนทำให้ข้าวสายพันธุ์อื่น ๆ ในบ้านเราได้เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้น ในขณะเดียวกันเทรนด์การดูแลสุขภาพก็เริ่มมีอิทธิพลต่อคนไทยมากขึ้น จึงส่งผลให้ข้าวที่ไม่ได้ขัดสี อย่าง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ และข้าวกล้อง กลายเป็นที่นิยมมากยิ่งขึ้น เนื่องจากข้าวทั้งสองประเภทนี้ให้คุณประโยชน์มากกว่าข้าวขาวที่ผ่านการขัดสีแล้วนั่นเอง ข้าวกล้องคืออะไรกันแน่? ทำไมคนถึงนิยมรับประทาน เมื่อพูดถึงข้าวกล้องหลายคนอาจจะยังไม่มั่นใจว่ามันคือชนิดพันธุ์ของข้าวหรืออะไรกันแน่? ข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือที่ใครหลายๆ คนอาจจะคุ้นเคยในชื่อนี้มากกว่า ข้าวกล้อง (Brown rice) คือข้าวที่ไม่มีการขัดสีเลยหรือผ่านการขัดสีเอาเปลือกออกเพียงครั้งเดียว แต่ยังคงเหลือในส่วนของจมูกข้าวและเยื่อหุ้มเมล็ดข้าว (รำข้าว) ไว้อยู่ ซึ่งในปัจจุบันนี้ขั้นตอนการขัดสีและกะเทาะเปลือกข้าวสารออกนั้น สามารถทำได้ด้วยเครื่องจักรในโรงสีข้าว แต่ในสมัยก่อนขั้นตอนที่กล่าวมานี้ถูกจัดการด้วยมือของชาวบ้านด้วยการฟาด/ทุบช่อข้าวที่เกี่ยวมาออก จนกลายเป็นที่มาของชื่อ ‘ข้าวซ้อมมือ’ นั่นเอง  ดังนั้นข้าวกล้องจึงเป็นเพียงรูปแบบการสีข้าวแบบไม่ขัดสีหรือขัดเพียงครั้งเดียว ไม่ใช่ชนิดพันธุ์เหมือนดั่งเช่นข้าวหอมมะลิ ข้าวเสาไห้ หรือข้าวไรซ์เบอร์รี่ และนั่นก็หมายความว่าไม่ว่าจะเป็นข้าวพันธุ์ไหนก็ตามสามารถนำมาทำเป็นข้าวกล้องได้นั่นเองค่ะ และแน่นอนว่าสิ่งที่ทำให้ข้าวกล้องนั้นมีประโยชน์อย่างมากมายก็คือส่วนที่ยังคงเหลืออยู่บนเมล็ดข้าว นั่นคือ จมูกข้าวและรำข้าว  จมูกข้าว (Rice Germ) เป็นส่วนที่จะเจริญกลายไปเป็นข้าวที่เรารับประทาน ซึ่งในส่วนของจมูกข้าวนี้จะอุดมไปด้วยสารอาหารประเภทต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของเมล็ดข้าว ได้แก่ โปรตีน ไขมันอิ่มตัว วิตามิน และแร่ธาตุชนิดต่าง … Read more

คาร์โบไฮเดรตคืออะไร? กินแบบไหนที่ได้ทั้งสุขภาพและไม่อ้วน

carbohydrate

เมื่อพูดถึงคาร์โบไฮเดรต หลายคนอาจจินตนาการถึงแป้งหรือน้ำตาลซึ่งดูเหมือนจะไม่ค่อยมีประโยชน์ต่อร่างกายเราเท่าไหร่นัก แต่การทานคาร์โบไฮเดรตให้ครบตามปริมาณต่อวันก็ยังเป็นเรื่องสำคัญที่ควรปฏิบัติและจะละเลยไม่ได้ ในบทความนี้ผมได้อธิบายเรื่องที่ควรรู้เกี่ยวกับคาร์โบไฮเดรตไว้อย่างละเอียด ซึ่งจะช่วยให้คุณออกแบบเมนูอาหารด้วยสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตที่เหมาะสม ตอบโจทย์ทั้งสายสุขภาพและสายสร้างกล้ามเนื้อที่ต้องการรับสารอาหารตามโภชนาการที่ถูกต้อง  คาร์โบไฮเดรตคืออะไร? คาร์โบไฮเดรต คือสารอาหารหลักชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย โดยจัดเป็นแหล่งพลังงานที่มากที่สุดที่ร่างกายสามารถดูดซึมได้ อีกทั้งยังพบคาร์โบไฮเดรตในสัดส่วนที่มากที่สุดจากอาหารในแต่ละมื้ออีกด้วย ซึ่งหลักๆ แล้วคาร์โบไฮเดรตมักถูกนำไปเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดสัดส่วนสารอาหารประเภทอื่นๆ ที่ต้องการรับในแต่ละวัน  โดยถ้ารับคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่น้อยเกินไปร่างกายของเราอาจไม่มีแรงพอที่จะทำกิจกรรมในแต่ละวันได้ และแน่นอนหากรับไปในปริมาณที่มากไปก็มักส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มสูงขึ้นได้เช่นกัน ซึ่งคาร์โบไฮเดรตสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามรูปแบบเมนูอาหาร ดังนี้ การแบ่งประเภทของคาร์โบไฮเดรต รู้หรือไม่? ในมุมมองของวิทยาศาตร์นั้นคาร์โบไฮเดรตไม่ได้มีแค่ชนิดเดียว ซึ่งการแบ่งประเภทของคาร์โบไฮเดรตจะใช้เกณฑ์ในการแยกที่ต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ในการค้นคว้าหรือการทดลอง แต่ถ้าพูดถึงบริบทของสารอาหาร คาร์โบไฮเดรตมักใช้ขนาดของโมเลกุลในการแบ่งประเภท โดยจะช่วยให้นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ที่ต้องการศึกษาได้เห็นถึงความสำคัญและวัตถุประสงค์ของคาร์โบไฮเดรตในแต่ละประเภท ดังนี้ 1. มอโนแซ็กคาไรด์ (Monosaccharide) คาร์โบไฮเดรตที่มีขนาดโมเลกุลเล็กที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มของน้ำตาลโมเลกุลเชิงเดี่ยวที่มีคาร์บอนในโมเลกุลตั้งแต่ 3 ถึง 10 อะตอม โดยจะไม่สามารถทำการย่อยให้เล็กลงไปได้อีกแล้ว ซึ่งก็ตรงตามคอนเซ็ปท์ที่หลายคนน่าจะเข้าใจดี เพราะน้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวนี้นี่เองที่เป็นผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายที่ได้จากแป้งหรือน้ำตาลโมเลกุลใหญ่  เพราะเมื่อเราทานคาร์โบไฮเดรตเข้าไป เอนไซม์ก็จะเข้ามาช่วยย่อยและตัดพันธะออกเพื่อจะได้มาซึ่งสารอาหารและพลังงานที่เข้าไปล่อเลี้ยงเซลล์ได้ เช่น น้ำตาลกลูโคส ฟรักโทส และกาแล็กโทส เป็นต้น 2. ไดแซ็กคาไรด์ (Disaccharide) น้ำตาลโมเลกุลคู่หรือไดแซ็กคาไรด์ คือ คาร์โบไฮเดรตที่ประกอบด้วยมอโนแซ็กคาไรด์ 2 โมเลกุล … Read more

กรดอะมิโนคืออะไรสำคัญแค่ไหนกับร่างกายเรา

amino-acids

นอกจากน้ำแล้วสารอาหาร (nutrients) ยังเป็นสิ่งสำคัญที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดไม่ควรขาดหรือพร่องไป สารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายเรามี 3 กลุ่มหลักๆ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน อีกทั้งยังมีแร่ธาตุและวิตามินที่ได้จากน้ำ ผัก และผลไม้อีกด้วย การได้รับสารอาหารทุกชนิดในปริมาณที่เหมาะสมตามที่ร่างกายของแต่ละคนต้องการนั้นเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายของคนเราสุขภาพแข็งแรง ไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป เนื่องจากการรับปริมาณสารอาหารในระดับที่พอเหมาะหรือเหมาะสมต่อความต้องการนั่นเอง แน่นอนว่าวันนี้เราไม่ได้พูดถึงเพียงแค่สารอาหารในภาพรวมอย่างเดียว ‘กรดอะมิโนคืออะไร สำคัญแค่ไหนกับร่างกายเรา’ ห้อข้อที่เราได้เลือกมาให้คุณผู้อ่านได้เก็บไว้เป็นเกร็ดความรู้ จะทำให้ทุกคนเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับสิ่งที่ร่างกายของเราต่องการ กรดอะมิโนคืออะไร? มาเริ่มต้นทำความเข้าใจกันที่ความหมายของกรดอะมิโนกันก่อน กรดอะมิโน (Amino acid) คือ หน่วยย่อยของสารอาหารประเภทโปรตีน หรือถ้าจะให้พูดแบบเข้าใจง่ายๆ ก็คือ เมื่อร่างกายของเรารับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโปรตีน (ได้แก่ เนื้อสัตว์ นม ไข่ และถั่วต่าง ๆ ฯลฯ) เข้าไป จากนั้นร่างกายก็จะเกิดกระบวนย่อยอาหารจนได้เป็นโมเลกุลของโปรตีนที่มีขนาดเล็กที่สุดพอที่เซลล์จะสามารถดูดซึมและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งโมเลกุลขนาดที่เล็กที่สุดของโปรตีนคือ กรดอะมิโน  กรดอะมิโนที่พบในสิ่งมีชีวิตมีจำนวนทั้งหมด 20 ชนิด ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของคนเราสามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนได้เองอยู่แล้ว ซึ่งเรียกกรดอะมิโนที่ร่างกายเราสามารถสังเคราะห์เองได้ว่า ‘กรดอะมิโนไม่จำเป็น’ (Non-essential amino acid) เนื่องจากร่างกายสังเคราะห์ขึ้นมาเองได้สจึงไม่จำเป็นที่จะต้องรับประทานเพิ่มเข้าไปอีก และ ‘กรดอะมิโนจำเป็น’ (Essential … Read more

Creatinine คืออะไร? เกี่ยวข้องอะไรกับค่าไตแล้วสามารถบอกอะไรได้บ้าง?

creatinine

กลไกการขับของเสียออกจากร่างกายนับเป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาสมดุล เพราะพฤติกรรมการทานอาหารและกิจกรรมบางอย่างอาจทำให้คุณได้รับสารเคมีหรืออนุมูลภายนอกเข้าไปในร่างกายมากเกินพอดี ด้วยเหตุเรานี้เราจึงต้องมีอวัยวะที่เรียกว่า “ไต” ซึ่งคอยทำหน้าที่ในการขับของเสียและสารพิษ รวมถึงรักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่ หัวข้อในวันนี้จึงจะพูดถึงภาพรวมของไต และการตรวจค่าไต ซึ่งจะนำคุณไปรู้จักว่า Creatinine คืออะไร? วิธีรักษาค่า Creatinine ให้สมดุลต้องทำอย่างไร? นอกจากนี้คุณก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไตกับ Creatinine อีกด้วย Creatinine คืออะไร? Creatinine คือ หนึ่งในวิธีการตรวจค่าไตที่วิเคราะห์ได้จากผลเลือด โดยใช้แนวทางในการประเมินคุณภาพจากของเสียที่เผาพลาญจากการใช้งานของกล้ามเนื้อ เช่น การวิ่ง, การเดิน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวันของร่างกาย โดยค่า Creatinine นั้นควรจะอยู่ในระดับที่ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจึงจะเรียกว่าปกติ ซึ่งการวินิจฉัยจะเป็นขั้นตอนถัดไปที่อยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำความรู้จักกับไตให้มากขึ้น ไต หรือ Kidneys คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปรับสมดุลสารต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยกรองและขับถ่ายสารพิษหรือสารเคมีออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะถูกออกในรูปแบบของเหลวหรือปัสสาวะ ไตจะมีลักษณ์ที่ค่อนข้างเล็กซึ่งมักเปรียบเทียบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับเมล็ดถั่วเหลือง อยู่ในตำแหน่งระหว่างผนังของลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอวและอยู่เป็นคู่ คุณลองจินตนาการดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่มีไต? ร่างกายจะเกิดการอักเสบ จากความล้มเหลวในการรักษาสมดุลระหว่างสารต่างๆ ที่อยู่ภายใน รวมถึงปัญหาจากการรับมือกับสารพิษหรือสารเคมีที่มีปริมาณมากเกินไป ดังนั้นไตจึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่ต้องดูแลอย่างถูกวิธี ผ่านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ร่วมกับการตรวจค่าไตอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยให้คุณติดตามการทำงานของร่างกายได้อย่างใกล้ชิด  กระบวนการทำงานของไต เราสามารถแบ่งหน้าที่การทำงานของไตได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ … Read more

16 เมนูอาหารโปรตีนสูงที่สายสุขภาพไม่ควรพลาด!

protein-foods-to-eats

ในรีวิวนี้ผมจะมาแนะนำ 16 เมนูอาหารโปรตีนสูง ที่สายเพิ่มกล้ามเนื้อพลาดไม่ได้อย่างยิ่ง! โดยเฉพาะในยุคนี้ที่วัตถุดิบการทำอาหารนั้นแพงหูฉี่ การเลือกทานหรือประกอบอาหารก็จำเป็นที่ต้องรัดกลุมมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ปริมาณโปรตีนที่เราต้องการในแต่ละวันนั้นไม่เท่ากัน การเลือกเมนูอาการโปรตีนสูงที่ใช่จึงกลายเป็นทางออกของสายรักสุขภาพที่ต้องการเสริมกล้ามเนื้อในเวอร์ชั่นที่ไม่เพิ่มน้ำหนัก เสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อด้วยกลุ่มอาหารโปรตีนสูง  อาหารโปรตีนสูงสำคัญอย่างไร? คำถามนี้อาจเกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงแรกก่อนที่คุณจะเริ่มเสิร์จหาด้วยซ้ำ โดยตามปกติแล้ว ใครก็ตามที่ต้องการลดน้ำหนักหรือควบคุมการทานอาหารมักเลือกที่จะลดคาร์โบไฮเดรต ลดไขมัน แล้วหันมาเพิ่มโปรตีนแทน ซึ่งกระบวนการรูปแบบนี้ก็สามารถช่วยให้น้ำหนักคุณลดได้จริง แต่ถ้าจะให้ยั่งยืนคุณจำเป็นต้องควบคุมสัดส่วนของสารอาหารที่สอดคล้องกับหลักทางโภชนาการที่ระบุไว้เป็นรายวัน Read: ประโยชน์ของโปรตีน โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อด้วยกลุ่มอาหารโปรตีนสูงนั้น จะขยายและปรับให้กล้ามเนื้อของคุณมีความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น พร้อมมีสัดส่วนที่สวยงามตรงใจสายเพิ่มกล้ามเนื้อ ดังนั้นการออกกำลังกายจึงจำเป็นต้องเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอควบคู่กันไปด้วย 16 เมนูอาหารโปรตีนสูงที่สายสุขภาพไม่ควรพลาด! กลุ่มอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีนที่สูงอาจไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะไข่, นม หรือเนื้อสัตว์เท่านั้น เพราะจริงๆ แล้วยังมีอีกหลายเมนูที่กลุ่มคนรักสุขภาพต่างนิยมนำมารับประทาน เพื่อทดแทนและเพิ่มปริมาณโปรตีนให้ครบตามที่ร่างกายต้องการต่อวัน จะมีอะไรบ้าง? ไปชมกันเลย! 1. กลุ่มอาหารประเภทไข่ เมื่อนึกถึงโปรตีนหลายคนก็มักต้องนึกถึง “ไข่” เป็นเรื่องปกติ เพราะไข่ไก่นั้นจัดเป็นหนึ่งในวัตถุดิบที่อุดมไปด้วยสารอาหารและโปรตีนที่เข้มข้นสุดๆ ทั้งยังมีราคาที่ค่อนข้างต่ำหากเทียบกับราคากลุ่มอาหารโปรตีนอื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ ไข่ไก่ยังถูกนำไปใช้กับเมนูอาหารจานหลักอื่นๆ เป็นจำนวนมาก ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นไอเดียดีๆ ให้สำหรับใครที่ต้องการเพิ่มปริมาณโปรตีนต่อวันให้ครบ โดยนอกจากจะรับโปรตีนกันแบบเต็มๆ แล้ว ยังเมนูไข่ยังช่วยบำรุงสมองให้แข็งแรง แถมมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยปกป้องดวงตาได้ดีอีกด้วย 2. อกไก่ หากเดินเข้าไปถามเมนูที่หนุ่มๆ เพาะกายนิยมทานกันเป็นประจำแล้วละก็ … Read more