สู้เพื่อเด็ก! อีกมุมของ หนึ่ง สุริยน ศรีอรทัยกุล ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

สู้เพื่อเด็ก! อีกมุมของ หนึ่ง สุริยน ศรีอรทัยกุล ที่คุณอาจไม่รู้มาก่อน

ด้วยภาพลักษณ์และรูปแบบการใช้ชีวิตของหนึ่ง สุริยน ศรีอรทัยกุล ผู้บริหารคนดังของบิวตี้ เจมส์ ที่มักจะรายล้อมไปด้วยเครื่องเพชร อัญมณี ความสวยงามและหรูหรา ใครเลยจะรู้ว่าอีกด้านหนึ่งผู้ชายคนนี้เป็นนักต่อสู้ ช่วยเหลือสังคมที่อึดและทนมากๆ คนหนึ่ง โดยเขาได้เป็นกำลังสำคัญในการผลักดันจนเกิดพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 24) พ.ศ. 2558 (ความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็ก) ซึ่งคุณหนึ่งและคนรอบตัวต่างต่อสู้อย่างเงียบๆ มาเป็นเวลากว่า 10 ปี 4 รัฐบาล ผ่านการล้มเหลวมาอย่างนับครั้งไม่ถ้วน และเมื่อปักธงแห่งชัยชนะได้สำเร็จ หลังจากนี้คือก้าวต่อไปที่จะทำให้กฏหมายแข็งแรงมากขึ้น

จุดเริ่มต้นของการต่อสู้

ตอนอายุ 30 ต้นๆ ผมได้มีโอกาสพบกับท่านฟิลลิป โซเรนเซ่น ท่านเป็นพระสหายส่วนพระองค์ของกษัตริย์และราชินีซิลเวียแห่งราชอาณาจักรสวีเดน หลังจากที่ท่านพูดคุยกับผมอย่างถูกคอ ท่านก็ได้เล่าเรื่องหนึ่งให้ผมฟังว่า ท่านให้ความสำคัญในเรื่องความผิดเกี่ยวกับสื่อลามกอนาจารเด็กเป็นอย่างมาก และได้ผลักดันเรื่องนี้จนกลายเป็นกฏหมายคุ้มครองช่วยเหลือเด็กๆ ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อและฝันร้ายไปตลอดชีวิตที่ประเทศของท่านได้แล้ว จากนั้นท่านฟิลลิปก็ได้ให้ข้อมูลกับผมต่อไปว่า เมืองไทยก็เป็นแหล่งผลิตสื่อลามกเด็กต่างๆ แล้วนำออกไปขายทั่วโลก ผ่านอินเตอร์เน็ต ผ่านสื่อต่างๆ ที่เป็นสื่อสมัยใหม่เช่นกัน  ตอนแรกไม่เชื่อเลยนะครับว่าการครอบครองสื่อลามกเด็กในไทยจะไม่ใช่เรื่องผิดกฎหมาย แต่เมื่อได้ลองค้นคว้าแล้วก็พบว่ากฏหมายของเรายังมีช่องโหว่อยู่ ผมจึงขอคำปรึกษากับท่านฟิลลิปและจริงจังกับเรื่องตรงนี้มาก ถึงจะเป็นเรื่องยาก เพราะคนฟังรู้สึกว่าเป็นเรื่องไม่น่าฟัง หรือมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่เราก็ต้องพยายายาม เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกิดกับลูกหลานเรานับเป็นหมื่นๆ เคสต่อไป และผมเองก็มีลูกเหมือนกัน นี่จึงเป็นที่มาในการจัดตั้งมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก ซึ่งตั้งมาได้ประมาณ 7 ปีแล้ว

ส่วนในเรื่องกฏหมาย เราและใช้เวลาเกือบ 10 ปี 4 รัฐบาล ในการผลักดันร่างกฏหมายนี้ ซึ่งปัญหาที่ทำให้ใช้เวลานานคือบางทีรัฐบาลบางสมัยหยุดลง การดำเนินการก็ต้องหยุด หรือกรณีที่สภาเข้าไปประชุมไม่ได้เพราะติดม็อบ ซึ่งมีครั้งหนึ่งที่เราดำเนินการไปถึง 80 % แต่ก็ต้องหยุดเพราะมีการยุบรัฐบาล เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่เราใช้เวลานานขนาดนี้เพราะมีเด็กที่ถูกกระทำอยู่ทุกวัน คุณฟิลลิปเองก็บอกว่าเรานอนหลับได้ยังไงในเมื่อมีเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นในอีกมุมของสังคมไทย จนมาถึงรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่ง ดร.ฝัน จินตนันท์ ชญาต์ร ศุภมิตร (หนึ่งในกรรมการมูลนิธิพิทักษ์และคุ้มครองเด็ก) ได้เข้ามาเป็นหนึ่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ด้วย ท่านจึงช่วยผลักดันร่างๆ นี้ ซึ่งเมื่อผ่านเป็นกฏหมายออกมา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ก็ทรงลงประปรมาภิไธย ในวันที่ 7 ธันวาคม 2558  ถือว่าเป็นกฎหมายที่พระองค์ทรงมอบให้เด็กๆ ทั่วราชอาณาจักรไทย

ประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฏหมายด้านคุ้มครองสื่อลามกอนาจารเด็ก

ประเทศไทยคือประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีกฏหมายนี้ครับ และตอนนี้เรากำลังจะขยายฐานไปที่มาเลเซีย อินโดนีเซียและประเทศกัมพูชา เราต้องการทำให้กฏหมายนี้แข็งแรงขึ้น ไม่อยากให้ผ่านแล้วแต่ถูกเก็บไว้ในลิ้นชัก สิ่งทีเราทำคือการแก้ปัญหาที่จุดเริ่มต้นไม่ให้เขาเข้ามาผลิตสื่อลามกเด็กที่ประเทศไทย และตอนนี้เราจัดทำเว็บไซต์ขึ้นมาชื่อ www.safeguardkids.org  ความรู้ทั้งหมดก็จะอยู่ตรงนี้และเราก็มี Hotline number 1911  หรือแจ้งเว็บไซต์ที่ ThaiHotline ที่สามารถให้เด็กๆ โทรแจ้งตำรวจได้ วิธีที่เขาชวนคือเขานำรูปเด็กอายุ 12 ปีที่ไม่ใส่อะไรเลยไปให้เด็กอายุเท่ากันดูแล้วบอกว่าเด็กคนอื่นก็ทำ แล้วทำไมคุณไม่ทำบ้าง ซึ่งรูปพวกนั้นมีมูลค่าเยอะนะครับ อย่างต่างชาติที่เขารีเควสท์ว่าอยากเห็นภาพเด็กอายุเท่านี้มีอะไรกับผู้ใหญ่จะยอมจ่ายเงิน 200 – 500 เหรียญสหรัฐเลย ซึ่งไม่ใช่แค่นั้น ยังมีสิ่งที่น่ารันทดใจอีกหลายอย่าง เคสที่ผมสะเทือนใจมากที่สุดเลยคือกรณีที่เด็กอายุ 2 เดือนมีอะไรกับผู้ใหญ่อายุ 70 ปี ซึ่งทุกอย่างมันเป็นออเดอร์มานะครับว่าเขาต้องการดูภาพอะไรแบบนี้

กฎหมายฉบับนี้เข้ามาช่วยดาราหลายชีวิตนะครับ เพราะภาพหลุดตอนเขาอายุ 12 -15 ปีก็ไม่สามารถเผยแพร่ได้เพราะว่าถ้ามีการส่งต่อหรือเผยแพร่จะมีโทษทั้งจำและปรับ ซึ่งก็ช่วยได้ในระดับหนึ่ง แต่การเข้ามามีบทบาทของอินเตอร์เน็ตจะทำให้ภาพเหล่านี้ถูกกระจายได้อย่างรวดเร็วมากขึ้นเหมือนกัน

ระหว่างที่ดำเนินการมักมีคณะกรรมการที่ตั้งคำถามว่าแล้วกฎหมายฉบับนี้จะเป็นการจำกัดสิทธิมนุษยชนไหมหรือ กรณีรูปเด็กผูกจุกและรูปที่โดนแกล้งตัดต่อ เราจะทำอย่างไร ผมก็ตอบไปว่าท่านไม่ได้ศึกษาข้อมูลเลย พูดออกมาอย่างนี้ทำให้กฎหมายผ่านช้า เพราะภาพเหล่านี้เราต้องดูวัตถุประสงค์ของแต่ละรูปว่าเผยแพร่เพราะอะไร ซึ่งกฎหมายของเราต้องการปกป้องผู้ถูกกระทำจริงๆ

 

 พ่อที่มองหน้าลูกได้เต็มตา

ตอนที่ผมเข้ามาทำเรื่องนี้คุณพ่อก็เตือนว่านี่เป็นการสู้ครั้งใหญ่อาจไปกระทบผลประโยชน์ของใครก็ได้ แต่เราก็เลือกที่จะสู้เพราะอย่างน้อยเราก็มีเพื่อนฝูงที่มีพาวเวอร์ คุณพ่อก็เลยปล่อยให้เราสู้ต่อไป และผมเองก็เป็นอีกคนที่เป็นพ่อคน และเราก็ทำเพื่อลูกของเราเหมือนกัน วันที่กฎหมายผ่านเป็นวันที่ผมมองหน้าลูกแล้วรู้สึกภูมิใจว่าในที่สุดเราก็ดูแลเขาในเรื่องนี้ได้แล้ว

ใน 10 ปีที่ทำเรื่องนี้ผมผิดหวังตลอด แต่ผมเป็นคนทำอะไรแล้วไม่ถอย ถ้ารู้สึกผิดหวังก็จะผิดหวังแค่ 2 นาทีแล้วมาเริ่มใหม่ ผมคิดว่าถ้าสิ่งที่ทำจะสามารถช่วยปกป้องเด็กไว้ได้แม้เพียงคนเดียวก็คุ้มค่ามาก ผมอยากให้กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่ของผม ไม่ใช่ของคุณฟิลลิป หรือของใครเพียงคนเดียว กฎหมายฉบับนี้เป็นสิ่งที่ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงลงพระปรมาภิไธยในขณะที่ประชวร เป็นสิ่งที่ท่านประธานให้ประชาชนชาวไทย ผมจึงไม่อยากให้กฏหมายฉบับนี้ถูกเก็บไว้ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งถ้าเราไม่จริงจัง คนที่ผลิตสื่อลามกก็จะเข้ามาทำเรื่องนี้ที่ประเทศของเราอีก และยังเป็นการประกาศให้ทั่วโลกได้รู้ว่าประเทศไทยมีกฎหมายแต่ปฏิบัติจริงไม่ได้

แม้ว่าจะมีคนบอกว่าผมสร้างภาพ แต่ผมก็ตอบกลับไปว่าถ้ามนุษย์คนนั้นจะสร้างภาพต่อเนื่องมากว่า 10  ปีก็ปล่อยเขาไปเถอะ สำหรับผม ผมคิดว่าเราไม่ได้สร้าภาพแต่เขียนภาพ และก็ต้องการให้มีคนแบบผม แบบดร.ฝัน แบบท่านฟิลลิป หรืออีกหลายๆ ท่าน เพื่อที่จะมีคนมาพูดและเผยแพร่ว่าเรามีกฎหมายที่มาปกป้องเด็กๆ แล้ว มีคนที่มาช่วยสอดส่องดูแลเด็กๆ ที่ถูกกระทำ ให้คนรู้มากขึ้นว่าการครอบครองสื่อลามกเด็กที่เมืองไทยเป็นเรื่องผิดกฎหมาย

นักธุรกิจอัญมณี VS นักต่อสู้เพื่อสังคม

การทำงานตรงนี้ทำให้ผมมองเห็นสัจธรรมครับ เพราะทั้งสองงานที่ผมทำอยู่เป็นอะไรที่แตกต่างกันมา ผมเชิดชูธุรกิจอัญมณีที่สุดเพราะเป็นหน้าตาของประเทศ (คุณหนึ่งเป็นประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับแห่งประเทศไทยและ ตำแหน่ง Brand Ambassador Thailand Gems & Jewelry Hub) เป็นสินค้าหนึ่งในไม่กี่ประเภทสินค้าที่คนไทยซื้อคนไทยด้วยกันเอง มีการส่งออก ทำรายได้ให้กับประเทศมหาศาลประมาณ 400,000 กว่าล้านบาทต่อปี และยังสร้างรายได้เป็นอันดับ 3 ของประเทศ (รองจากอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนรถยนตร์) ธุรกิจอัญมณีไม่ใช่ธุรกิจฟุ่มเฟือยแต่เป็นธุรกิจที่สร้างเม็ดเงินอย่างเป็นกอบเป็นกำ มีแรงงานทำงานอยู่ในธุรกิจนี้กว่า 2,000,000 คน และเราก็ได้นำเครื่องเพชรมาซัพพอร์ตเรื่องช่วยเหลือเด็กด้วยครับ เช่น เวลาจัดงานประมูลเราก็จะแบ่งเงินเข้ามูลนิธิฯ เพื่อที่มูลนิธิของเราจะได้มีเงินเดือน มีงบต่างๆ ในการทำประชาสัมพันธ์ให้คนทั่วไปได้รู้จักและรับรู้เรื่องกฏหมายนี้มากขึ้น

สัมภาษณ์: กิ่งสุรางค์ อนุภาษ

ช่างภาพ: สุภชาติ เวชมาลีนนท์

✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦✦

ติดตามนิตยสาร OK! Magazine Thailand ได้ที่นี่

♥ Website : http://www.okmagazine-thai.com/
♥ Instagram : https://www.instagram.com/okmagazinethailand/
♥ Facebook : https://www.facebook.com/okmagthailand
♥ Twitter : https://twitter.com/okthailand

 

 

 

Comments

comments

okadmin

นิตยสาร OK! เป็นนิตยสารรายแรกและเพียงรายเดียวที่อัพเดตข่าวคราวของเหล่าดาราทั้งในและต่างประเทศได้อย่างเจาะลึกทุกซอกทุกมุม รวมทั้งเรื่องส่วนตัวของเหล่าศิลปินและดาราสุดเอ็กซ์คลูซีฟ

RELATED ARTICLES

25 คนดังกับสไตล์จัดเต็มสุดครีเอท ฉลองเทศกาลฮาโลวีน 2018

25 คนดังกับสไตล์จัดเต็มสุดครีเอท ฉลองเทศกาลฮาโลวีน 2018

ผ่านไปแล้วสำหรับเทศกาลวันฮาโลวีนเมื่อวานนี้ (31 ต.ค.) OK! [...]

READ MORE
REST IN PEACE 5 เรื่องราวที่น่าจดจำของเจ้าของฉายาจิ้งจอกสยาม วิชัย ศรีวัฒนประภา

REST IN PEACE 5 เรื่องราวที่น่าจดจำของเจ้าของฉายาจิ้งจอกสยาม วิชัย ศรีวัฒนประภา

ข่าวการจากไปของคุณวิชัย ศรีวัฒนประภา ประธานกรรมการ กลุ่มบริษัท [...]

READ MORE