Creatinine คืออะไร? เกี่ยวข้องอะไรกับค่าไตแล้วสามารถบอกอะไรได้บ้าง?

กลไกการขับของเสียออกจากร่างกายนับเป็นหนึ่งในระบบที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการรักษาสมดุล เพราะพฤติกรรมการทานอาหารและกิจกรรมบางอย่างอาจทำให้คุณได้รับสารเคมีหรืออนุมูลภายนอกเข้าไปในร่างกายมากเกินพอดี ด้วยเหตุเรานี้เราจึงต้องมีอวัยวะที่เรียกว่า “ไต” ซึ่งคอยทำหน้าที่ในการขับของเสียและสารพิษ รวมถึงรักษาสมดุลของร่างกายให้คงที่ หัวข้อในวันนี้จึงจะพูดถึงภาพรวมของไต และการตรวจค่าไต ซึ่งจะนำคุณไปรู้จักว่า Creatinine คืออะไร? วิธีรักษาค่า Creatinine ให้สมดุลต้องทำอย่างไร? นอกจากนี้คุณก็จะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างไตกับ Creatinine อีกด้วย

Creatinine คืออะไร?

Creatinine คือ หนึ่งในวิธีการตรวจค่าไตที่วิเคราะห์ได้จากผลเลือด โดยใช้แนวทางในการประเมินคุณภาพจากของเสียที่เผาพลาญจากการใช้งานของกล้ามเนื้อ เช่น การวิ่ง, การเดิน หรือการทำกิจกรรมในแต่ละวันของร่างกาย โดยค่า Creatinine นั้นควรจะอยู่ในระดับที่ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปจึงจะเรียกว่าปกติ ซึ่งการวินิจฉัยจะเป็นขั้นตอนถัดไปที่อยู่ในความรับผิดชอบของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ทำความรู้จักกับไตให้มากขึ้น

ไต หรือ Kidneys คือ อวัยวะที่ทำหน้าที่ในการปรับสมดุลสารต่างๆ ภายในร่างกาย ช่วยกรองและขับถ่ายสารพิษหรือสารเคมีออกจากร่างกายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะถูกออกในรูปแบบของเหลวหรือปัสสาวะ ไตจะมีลักษณ์ที่ค่อนข้างเล็กซึ่งมักเปรียบเทียบว่ามีลักษณะที่คล้ายกับเมล็ดถั่วเหลือง อยู่ในตำแหน่งระหว่างผนังของลำตัวของกระดูกสันหลังช่วงเอวและอยู่เป็นคู่

คุณลองจินตนาการดูสิว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าไม่มีไต? ร่างกายจะเกิดการอักเสบ จากความล้มเหลวในการรักษาสมดุลระหว่างสารต่างๆ ที่อยู่ภายใน รวมถึงปัญหาจากการรับมือกับสารพิษหรือสารเคมีที่มีปริมาณมากเกินไป ดังนั้นไตจึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่ต้องดูแลอย่างถูกวิธี ผ่านพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ร่วมกับการตรวจค่าไตอย่างสม่ำเสมอซึ่งจะช่วยให้คุณติดตามการทำงานของร่างกายได้อย่างใกล้ชิด 

กระบวนการทำงานของไต

เราสามารถแบ่งหน้าที่การทำงานของไตได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. การปรับสมดุลสารต่างๆภายในร่างกาย

หน้าที่หลักของไตคือการปรับสมดุลสารต่างๆ ภายในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติโดยเฉพาะน้ำและเกลือแร่ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องดูแลและควบคุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเด็นของอุณหภูมิ ความสมดุลของความเป็นกรดด่างในเลือก รวมทั้งความดันที่ต้องอยู่ในสภาวะสมดุลและคงที่

2. การกรองของเสียและขับออก

กิจกรรมในแต่ละวันของคุณอาจต้องเจอทั้งสารเคมีและสิ่งแปลกปลอมที่พร้อมจะเข้าในร่างกายได้ ไตจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการกรองสารเหล่านี้ รวมถึงเกลือแร่ หรือวิตามินต่างๆ ที่เกินความจำเป็น เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการขับออกนอกร่างกายต่อไป โดยจะเรียกของเหลวที่ขับออกไปนั้นว่ายูเรีย (Urea) ที่ผสมรวมอยู่กับน้ำปัสสาวะนั่นเอง

3. การผลิตฮอร์โมน

นอกเหนือจากหน้าที่การกรองและขับของเสียออกจากร่างกายแล้ว ไตยังมีส่วนสำคัญในการผลิตฮอร์โมนอีริโทรโพอิติน (Erythropoietin) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดงจากไขสันหลังกระดูก เพื่อหล่อเลี้ยงตามเนื้อเยื้อต่างๆ ทั่วร่างกาย

ความสัมพันธ์ระหว่าง Creatinine กับไต

ถ้าคุณอ่านมาถึงตรงนี้ คุณน่าจะเข้าใจคอนเซ็ปท์การทำงานของไตโดยคร่าวๆ แล้ว ต่อจากนี้เราจะมาพูดคุยถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Creatinine กับไตดูบ้าง ว่าทั้งคู่นั้นมาความเกี่ยวเนื่องกันอย่างไร

Creatinine คือวิธีการเช็คค่าไตรูปแบบหนึ่งที่วิเคราะห์มาจากผลเลือด ซึ่งค่าที่ออกมานั้นจะแสดงให้รู้ว่าไตของคุณกำลังทำงานอย่างเป็นปกติหรือตรงกันข้าม? โดยการทำงานของไตจะเกิดขึ้นตามกลไกของร่างกาย แต่การทำงานของไตอาจลดประสิทธิภาพลงได้ซึ่งเป็นที่มาของการเกิดโรคไต ดังนั้นค่า Creatinine จึงมีประโยชน์อย่างมากในการอัปเดตสุขภาพไตที่แม่นยำ

โรคไตคืออะไร?

โรคไต หรือ Kidney Disease คือ สถาวะที่ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างปกติ ทั้งในส่วนของการกรองสารเคมีหรือสาพิษ รวมถึงกระบวนการขับสารส่วนเกินต่างๆ จนทำให้เกิดสารตกค้างในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะโรคแทรกซ้อนภายใน และเสียการรักษาสมดุลของสารต่างๆ ภายในร่างกาย

ซึ่งการเกิดโรคไตนั้นมีที่มาจากหลายสาเหตุ การระบุถึงที่มาของโรคนั้นผู้รักษาต้องทำการปรึกษาแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะทาง โดยปัจจุบันนี้มีโปรแกรมที่สามารถเข้าไปสอบถามข้อมูลได้ตลอด ซึ่งการดูแลสุขภาพคุณตั้งแต่วันนี้นอกจากจะลดความเสี่ยงในการเกิดโรคแล้ว ยังเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ดีต่อสุขภาพได้อีกด้วย

ข้อควรรู้สำหรับระดับ Creatinine ในเลือด

คุณอาจคุ้นเคยดีอยู่แล้ว กับแนวทางการตรวจเลือดเพื่อวัดการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย ซึ่งในกรณีของ Creatinine ก็จำเป็นต้องได้รับการตรวจเช็คจากผลเลือดเช่นเดียวกัน 

เพราะการตรวจเลือด (Blood testing) เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยบ่งชี้การทำงานของสภาวะต่างๆ ในร่างกายได้อย่างแม่นยำที่สุด เร็วที่สุด และต่อยอดผลการวิเคราะห์ได้กว้างที่สุดอีกด้วย ซึ่งไม่ว่าจะเป็นการตรวจเช็คคสุขภาพหรือการตรวจเพื่อระบุหาสาเหตุของอาการก็มักใช้การตรวจเลือกควบคู่ไปกับการวินิจฉัยของแพทย์ นอกจากนี้ ด้วยนวัตกรรมที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องช่วยการวิธีการตรวจเลือดนั้นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

โดยการตรวจวัด Creatinine จากเลือดนั้น จะเป็นการพิจารณาในด้านคุณภาพจากของเสียซึ่งเกิดจากการสลายกล้ามเนื้อของร่างกาย หากค่าที่วัดได้มีอยู่ระหว่าง 0.6-1.2 mg/dL ก็จะถือว่าปกตินั้นเอง อย่างไรก็ตาม การตรวจวัดค่า Creatinine จากผลเลือดอาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง โดยเฉพาะในส่วนของการเตรียมตัวของผู้ตรวจเลือดที่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อการวัดผดที่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

วิธีการตรวจค่าไตพร้อมเหตุผลที่ต้องตรวจ?

เทคนิคและกระบวนการในการตรวจหาค่าไตไม่ได้มีเพื่อการตรวจหาค่า Creatinine อย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังเป็นการเช็คสุขภาพของไตว่ายังสามารถทำงานได้อย่างอยู่หรือไม่อีกด้วย เพราะอย่างที่คุณเข้าใจดี ไตไม่สามารถคงความเสถียรในการทำงานที่เท่ากันตลอดอายุไขของคุณได้ ดังนั้นการตรวจเช็คไตจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการออกแบบกิจกรรมและรูปแบบการทารอาหารที่เป็นมิตรต่อร่างกาย

ค่าไตยังบอกความน่าจะเป็นในการทำงานที่ปกติหรือไม่ปกติของหัวใจได้อีกต่างหาก โดยถ้าปริมาตรของเลือดมีความดันที่ต่ำกว่าปกติ แพทย์อาจระบุได้ว่าหัวใจของคุณมีการทำงานที่ไม่เต็มประสิทธิภาพเท่าไหร่นัก 

นอกจากนี้ การตรวจวัดไตยังช่วยติดตามอาการข้างเคียงหรือผลกระทบที่อาจเกิดจากการทานยาบางชนิดได้อีกด้วย เพราะยาบางกลุ่มมีฤทธิ์ที่เป็นโทษต่อไตซึ่งอาจส่งผลทำให้การทำงานนั้นเสื่อมสภาพลง

การเตรียมตัวก่อนตรวจค่าไต

ก่อนกระบวนการตรวจค่าไตจะเริ่มขึ้น แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะทำการชี้แจ้งขั้นตอนทั้งหมดอย่างละเอียด พร้อมระบุวแนวทางการเตรียมตัวและการปฏิบัติตนหลังจากการตรวจแก่ผู้รับการตรวจ ซึ่งนับเป็นเรื่องจำเป้นที่ผู้เข้ารับกการตัวต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เพื่อผลลัพธ์ของการตรวจที่แม่นยำ และลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ตรวจในภายหลัง

  • ก่อนตรวจไต ผู้เข้ารับการตรวจจำเป็นต้องงดอดอาหารและน้ำก่อนเข้าห้องตรวจ 8-12 ชั่วโมง หรือตามเวลาที่แพทย์แนะนำ ที่เป็นอย่างนี้เพราะต้องการลดความคลาดเคลื่อนของผลการตรวจให้ได้มากที่สุด
  • ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิต สามารถทานยาได้ตามปกติ
  • งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด 24 ชั่วโมง
  • พักผ่อนให้เพียงพอ งดการอดนอนก่อนเข้ารับการตรวจ

แนวทางการป้องกันโรคไต

ไตอาจไม่สามารถคงประสิทธิภาพในการทำงานได้อย่างคงที่ตลอดอายุการใช้งาน แต่คุณสามารถปกป้องไตของคุณให้คงความต่อเนื่องของการทำงานได้อย่างปกติตามแนวทางการปฏิบัติดังต่อนี้

1. ตรวจเช็คค่าไตรวมถึงตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี

แนงทางการป้องกันโรคที่ดีที่สุดคือการรู้เท่าทันสุขภาพของคุณ การตรวจเช็คค่าไตจึงมีความสำคัญอย่างมากในการติดตามประสิทธิภาพในการทำงาน นอกจากนี้ การตรวจเช็คสุภาพเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้อีกด้วย

2. ให้ความสำคัญกับองค์ประกอบในอาหารแต่ละมื้อ

อีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่เป็นตัวกำหนดประสิทธิภาพในการทำงานของไตนั้นก็คือ “อาหาร” ดังนั้นไตจะทำงานหนักหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับอาหารที่คุณทานในแต่ละมื้อนั้นเอง

3. จำกัดการดื่มแอลกอฮอล์

เพราะแอลกอฮอล์จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีความเข้มข้นค่อนข้างสูง ไตจึงต้องทำงานค่อนข้างหนักเพื่อรักษาสมดุลของน้ำ เกลือแร่ และสารต่างๆ ในร่างกายให้เป็นปกติ การควบคุมและจำกัดการทานเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จึงเป็นเรื่องที่ช่วยได้มากพอสมควร

4. ลดปริมาณการสูบบุหรี่หรืองดไปเลยแบบถาวร

หลายคนอาจไม่รู้ ว่าการสูบบุหรี่ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่สร้างผลเสียต่อไตได้ จากความเข้มข้นของการสูบบุหรี่ที่จัดจนเกินไป ความดันโลหิตจะลดลงกว่าปกติซึ่งจะไปทำลายหลอยเลือดฝอยที่อยู่บริเวณไต

5. ลดความเสี่ยงจากการถ่ายทอดโรคไตผ่านพันธุกรรม

รู้หรือไม่? โรคไตสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคไตของบุตร ก่อนการแต่งงานควรพาคู่ของคุณทำการตรวจค่าไตเพื่อวางแผนการมีบัตรได้อย่างมั่นใจ

6. ออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย

จริงๆ แล้วการออกกำลังกายควรเป็นกิจกรรมหลักที่คุณต้องมีทุกวัน เพราะการออกำลังกายที่เป็นกิจวัตรจะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อ เสริมภูมิคุ้มกัน และทำให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานอย่างเป็นระบบ

ค่าใช้จ่ายในการตรวจโดยประมาณ

ด้วยนวัตกรรมทางการแพทย์ที่ทันสมัย การตรวจค่าไตจึงสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ลดความเสี่ยงด้านผลกระทบ และสามารถออกแบบโปรแกรมได้ตามความเหมาะสมของผู้เข้ารับการตรวจ โดยผู้ที่สนใจเข้ารับการตรวจค่าไตสามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดของโปรแกรมก่อนเข้ารับการตรวจได้ อย่างไรก็ตาม การตรวจทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งคุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมดก่อนเข้ารับการตรวจได้

  • ราคาจะแตกต่างไปตามเพศและช่วงของอายุ
  • ราคามีตั้งแต่หลัก 2,000 กว่า ไปจนถึงหลัก 50,000 กว่า

ใครบ้างที่ควรตรวจค่าไต?

  • เหมาะสำหรับคนที่มีมีตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
  • มีค่า BMI ที่สูงกว่ามาตรฐาน
  • พบความผิดปกติด้านภายนอกของร่างกาย เช่น อาการบวมตามใบหน้า ช่วงตัว และเท้า
  • มักมีอาการวินเวียนศีรษะและอ่อนเพลียอยู่บ่อยๆ 
  • มีประวัติคนในครอบครัวที่เคยเป็นโรคไต โดยเฉพาะกรณีที่เป็นโรคไตโดยพันธุกรรม หรือเป็นบุคคลที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน
  • บุคคลที่มีความดันเลือดสูงหรือต่ำกว่าผิดปกติ จากการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหัวใจ
  • พบอาการอยากปัสสาวะอยู่บ่อยๆ หรือพบลักษณะน้ำปัสสาวะที่มีเลือดปน

Leave a Comment